Happy Valentine’s Day

123

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

บทแผ่เมตตา

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

เพลงคุณธรรม

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

เพลงคุณธรรม

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

หนังสั้น

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

พระพุทธศาสนสุภาษิต

สุภาษิต แปลว่า ถ้อยคำที่กล่าวไว้ดี (สุ=ดี, ภาษิต=กล่าว) สามารถนำมาเป็นคติ ยึดถือเป็นหลักใจได้

พุทธศาสนสุภาษิต หมายถึง ถ้อยคำดีๆ ในพระพุทธศาสนา แต่มิได้หมายความเฉพาะคำที่พระพุทธองค์ตรัสไว้เท่านั้น แม้สุภาษิตแทบทั้งหมดจะเป็นพระพุทธพจน์ก็ตาม

เช่น ถ้าเป็นภาษิตพระสัมมาสัมพุทธตรัสเอง เรียกว่า พุทธภาษิต / พุทธสุภาษิต (หรือ พระพุทธพจน์) ถ้าพระโพธิสัตว์ กล่าวเรียกว่า โพธิสัตว์ภาษิต ถ้าพระสาวกกล่าว ก็เรียกว่า เถรภาษิต บ้าง สาวกภาษิต บ้าง แม้แต่คำที่เทวดากล่าว และพระพุทธองค์ได้ตรัสรับรองว่าดีด้วยการตรัสคำนั้นซ้ำ เรียกว่า เทวดาภาษิต เป็นต้น
พุทธศาสนสุภาษิต : พระราชา

ราชา รฏฺฐสฺส ปญฺญาณํ
พระราชาเป็นเครื่องปรากฏของแว่นแคว้น
ราชา มุขํ นุสฺสสานํ
พระราชาเป็นประมุขของประชาชน
สพฺพํ รฏฺฐํ สุขํ โหตุ ราชา เจ โหติ ธมฺมิโก
ถ้าพระราชาเป็นผู้ทรงธรรม ราษฎรทั้งปวงก็เป็นสุข
กุทฺธํ อปฺปฏิกุชฺฌนฺโต ราชา รฏฺฐสฺส ปูชิโต
พระราชาผู้ไม่กริ้วตอบผู้โกรธ ราษฎรก็บูชา
สนฺนทฺโธ ขตฺติโย ตปติ
พระมหากษัตริย์ทรงเครื่องรบย่อมสง่า
ขตฺติโย เสฏฺโฐ ชเนตสฺมิง เย โคตฺตปฏิสาริโน
พระมหากษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่ชนผู้รังเกียจด้วยสกุล
พุทธศาสนสุภาษิต : สิ่งที่เป็นการยาก

กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ
ความได้เป็นมนุษย์เป็นการยาก
กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ
ความเป็นอยู่ของสัตว์เป็นการยาก
กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ
การฟังธรรมของสัตบุรุษเป็นการยาก
กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท
ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้เป็นการยาก
ทุลฺลภํ ทสฺสนํ โหติ สมฺพุทฺธานํ อภิณฺหโส
การเห็นพระพุทธเจ้าเนืองๆ เป็นการหาได้ยาก

พุทธศาสนสุภาษิต : ทรัพย์และอนิจจัง

น จาปิ วิตฺเตน ชรํ วิหนฺติ
กำจัดความแก่ด้วยทรัพย์ไม่ได้
น ทีฆมายุง ลภเต ธเนน
คนไม่ได้อายุยืนเพราะทรัพย์
สพฺเพ ว นิกฺขิปิสฺสนฺติ ภูตา โลเก สมุสฺสยํ
สัตว์ทั้งปวง จักทอดทิ้งร่างไว้ในโลก
อฑฺฒา เจว ทฬิทฺทา จ สพฺเพ มจฺจุปรายนา
ทั้งคนมีทั้งคนจน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า
อปฺปกญฺจิทํ ชีวตมาหุธีรา
ปราชญ์กล่าวว่าชีวิตนี้น้อยนัก
น หิ โน สงฺครนฺเตน มหาเสเนน มจฺจุนา
ความผัดเพื่อนกับมฤตยู อันมีกองทัพใหญ่นั้น ไม่ได้เลย
ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา
ภิยฺโย จ กาเม อภิปตฺถยนฺติ
ผู้บริโภคกาม ย่อมปรารถนากามยิ่งขึ้นไป
ชรูปนีตสฺส น สนฺติ ตาณา
เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว ไม่มีผู้ป้องกัน
น มิยฺยมานสฺส ภวนฺติ ตาณา
เมื่อสัตว์จะตาย ไม่มีผู้ป้องกัน
น มิยฺยามานํ ธมฺมนฺเวติ กิญฺจิ
ทรัพย์สักนิดก็ติดตามคนตายไปไม่ได้
สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
ขโณ โว มา อุปจฺจคา
ขณะอย่าล่วงท่านทั้งหลายไปเสีย
อติปตฺติ วโย ขโณ ตเถว
วัยย่อมผ้านพ้นไปเหมือนขณะทีเดียว
กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพาเนว สหตฺตนา
กาลเวลาย่อมกินสรรพสัตว์กับทั้งตัวมันเอง
พุทธศาสนสุภาษิต : ความโกรธ

โกธํ ฆตฺวา น โสจติ
ฆ่าความโกรธได้แล้วย่อมไม่เศร้าโศก
โกโธ สตฺถมลํ โลเก
ความโกรธเป็นดังสนิมศัสตราในโลก
โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ
ฆ่าความโกรธได้แล้วย่อมอยู่เป็นสุข
พุทธศาสนสุภาษิต : ความทุกข์

ทฬิทฺทิยํ ทุกฺขํ โลเก
ความจนเป็นทุกข์ในโลก
อิณาทานํ ทุกฺขํ โลเก
การกู้หนี้ เป็นทุกข์ในโลก
ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา
เหย้าเรือนที่ปกครองไม่ดี นำทุกข์มาให้
สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
พุทธศาสนสุภาษิต : สหาย

อตฺถมฺหิ ชาตมฺหิ สุขา สหายา
เมื่อความต้องการเกิดขึ้น สหายเป็นผู้นำสุขมาให้
สเจ ลเภถ นิปกํ สหายํ จเรยฺย เตนตฺตมโน สติมา
ถ้าได้สหายผู้รอบคอบพึงพอใจมีสติเที่ยวไปกับเขา
ปาปมิตฺโต ปาปสโข ปาปอาจารโคจโร
มีมิตรเลว มีเพื่อนเลว ย่อมมีมรรยาทและมีที่เที่ยวเลว
นตฺถิ พาเล สหายตา
ความเป็นสหาย ไม่มีในคนพาล
ภริยา ปรมา สขา
ภริยาเป็นเพื่อนสนิท, ภรรยาเป็นสหายอย่างยิ่ง
พุทธศาสนสุภาษิต : มลทิน

อสชฺฌายมลา มนฺตา
มนต์มีการไม่ท่องบ่น เป็นมลทิน
อนุฏฺฐานมลา ฆรา
เหย้าเรือนมีความไม่หมั่นเป็นมลทิน
มลํ วณฺณสฺส โกสชฺชํ
ความเกียจค้านเป็นมลทินแห่งผิวพรรณ
มลิตฺถิยา ทุจฺจริตํ
ความประพฤติชั่วเป็นมลทินของหญิง
พุทธศาสนสุภาษิต : บริสุทธิ์

สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ
ความบริสุทธิ์และความไม่บริสุทธิ์มีเฉพาะตัว
นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย
ผู้อื่นพึงทำให้ผู้อื่นบริสุทธิ์ไม่ได้
สุทฺธสฺส สุจิกมฺมสฺส สทา สมฺปชฺชเต วตํ
พรตของผู้บริสุทธิ์มีการงานสะอาด ย่อมถึงพร้อมทุกเมื่อ
พุทธศาสนสุภาษิต : การชนะ

สพฺพรติง ธมฺมรติ ชินาติ
ความยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดีทั้งปวง
ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ
ความสิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง
น หิ ชิตํ สาธุ ชิตํ ยํ ชิตํ อวชิยฺยติ
ความชนะที่ไม่กลับแพ้เป็นดี
อสาธุง สาธุนา ชิเน
พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดีของตน
ชิเน กทริยํ ทาเนน
พึงชนะคนตระหนี่ ด้วยการให้
สจฺเจนาลิกวาทินํ
พึงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง
พุทธศาสนสุภาษิต : หว่านพืชเช่นใด ได้ผลเช่นนั้น

อคฺคสฺส ทาตา ลภเต ปุนคฺคํ
ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ย่อมได้สิ่งที่เลิศอีก
มนาปทายี ลภเต มนาปํ
ผู้ให้สิ่งที่ชอบใจ ย่อมได้สิ่งที่ชอบใจ
เสฏฺฐนฺทโท เสฏฺฐมุเปติ ฐานํ
ผู้ให้สิ่งที่ประเสริฐ ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ
ททโต ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ
บุญของผู้ให้ย่อมเจริญ
ทเทยฺย ปุรโส ทานํ
คนควรให้ทาน
ปุญฺญมากงฺขมานานํ สงฺโฆ เว ยชตํ มุขํ
พระสงฆ์นั้นแล เป็นประมุขของเหล่าชนผู้จำนงบุญบูชาอยู่
พุทธศาสนสุภาษิต : ผู้ครองเรือน

ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา
เหย้าเรือนที่ปกครองไม่ดี นำทุกข์มาให้ฯ
อนุฏฺฐานมลา ฆรา
เหย้าเรือนมีความไม่หมั่น เป็นมลทินฯ
โภคา สนฺนิจฺจยํ ยนฺติ วมฺมิโก วุปจียติ
โภคทรัพย์ของผู้ครองเรือนดี ย่อมถึงความพอกพูน เหมือนจอมปลวกกำลังก่อขึ้นฯ
พุทธศาสนสุภาษิต : ภรรยา

ภตฺตา ปุญฺญาณมิตฺถิยา
ภัสดาเป็นสง่าของสตรีฯ
ภตฺตารํ นาติมญฺญติ
ภรรยาดี ไม่ดูหมิ่นภัสดา
ภตฺตุ ฉนฺทวสานุคา
ภรรยาย่อมคล้อยตามอำนาจแห่งความพอใจของภัสดา
ภตฺตุญฺจ ครุโน สพฺเพ ปฏิปูเชติ ปณฺฑิตา
ภรรยาผู้ฉลาดย่อมนับถือภัสดาและคนควรเคารพทั้งปวง
ภตฺตุมนา ปญฺจรติ
ภรรยาดีย่อมประพฤติเป็นที่พอใจของภัสดา
สมฺภตํ อนุรกฺขติ
ภรรยาดีย่อมคอยรักษาทรัพย์ที่ภัสดาหามาได้ไว้
สุสํวิหิตกมฺมนฺตา
ภรรยาดีเป็นผู้จัดทำการงานดี
สุสฺสูสา เสฏฺฐา ภริยานํ
บรรดาภิรยาทั้งหลาย ภริยาผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

พระไตรปิฎก

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

พระรัตนตรัย

พระรัตนตรัย

ความหมายของพระรัตนตรัย
คำว่า “รัตนตรัย” มาจากคำว่า “รัตน” แปลว่า แก้วหรือสิ่งประเสริฐ กับคำว่า “ตรัย” แปลว่า สาม ฉะนั้นพระรัตนตรัย แปลรวมกันว่า แก้วสามดวง หรือ สิ่งประเสริฐสามสิ่ง ที่พุทธศาสนิกชนเคารพนับถือสูงสุดสามสิ่งนับเป็นองค์ประกอบของศาสนาพุทธ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งจัดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของศาสนา 3 อย่างใน 6 อย่าง อันได้แก่
1. ผู้ให้กำเนิดศาสนา คือพระพุทธเจ้า
2. คัมภีร์หรือหลักคำสอน คือ พระธรรม
3. สาวกหรือผู้สืบทอดศาสนา คือพระสงฆ์
4. พิธีกรรมทางศาสนาหรือการประกอบพิธีทางศาสนกิจตามความเชื่อ
5. ศาสนสถานหรือวัตถุที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนา
6. ศาสนิกชนหรือผู้เลื่อมใสในศาสนา
พระพุทธ
คำว่า พุทฺธ แปลว่า ผู้รู้แล้ว (รู้ในความเป็นไปในธรรมชาติทั้งปวง) ผู้ตื่นแล้ว (ตื่นจากความโง่เขลา ตื่นจากความงมงาย ) ผู้เบิกบาน ( ไม่มีสิ่งใดทำให้จิตใจเศร้าหมองอีกแล้ว )
หมายถึงผู้ที่ตรัสรู้อริยสัจ คือความเป็นจริงที่ประเสริฐ 4 ประการ
พุทธ จำแนกออกเป็น 3 ประเภทได้แก่
1. ปัจเจกพุทธ หมายถึงผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเองแต่ไม่สามารถสอนให้ผู้อื่นตรัสรู้ตามได้ มี 5 พระองค์แห่งภัทรกัปป์ปัจจุบันนี้ คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคดม และพระเมตเตยยะ (เรียกกันสามัญว่า พระศรีอาริย์ หรือ พระศรีอารยเมตไตรย)
2. สัมมาสัมพุทธ หมายถึงผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเองแล้วสามารถสอนให้ผู้อื่นตรัสรู้ตามได้มีองค์เดียวเท่านั้นคือ สัมมาสัมพุทธเจ้า
3. สุตตันตพุทธ หมายถึงผู้ตรัสรู้ตามคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า
พระธรรม
ธรรม มีเสียงพ้องกับคำว่า ทำ ในภาษาไทย ถ้าข้อความไม่ชัดเจนอาจเติมสระ อะ เป็นธรรมะ แต่จะใช้คำว่า ธรรมะ เฉพาะเมื่อหมายถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ธรรม (ทำ) หรือ ธรรมะ (ทำ-มะ) เป็นคำที่มาจากคำภาษาสันสกฤต ธรรม แปลว่าสิ่งที่แบกไว้ หมายถึง กฎหมาย หน้าที่ ยุติธรรม ความถูกต้อง คุณความดี คุณธรรม ธรรมชาติ เป็นต้น
ในภาษาไทยใช้คำว่า ธรรม หรือ ธรรมะ หมายถึง คำสั่งสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า
เนื้อหาสาระเรื่องราวที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนทั้งหมดทั้งสิ่งที่ดีและชั่วเรียกว่า ธรรม หรือ ธรรมะ เช่น ทรงสอนเรื่องอริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ทรงสอนเรื่องไตรลักษณ์ หรือ อนัตตลักขณสูตรสอนเรื่องกิเลส ก็เรียกว่า ทรงสอนธรรมเรื่องกิเลส หรือทรงสอนธรรมะเรื่องกิเลส
ธรรมหมายถึงการประพฤติที่ดีที่ถูกต้องได้ เช่น ธรรมที่ประพฤติดีแล้วนำสุขมาให้ ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข ใครๆ ก็สรรเสริญการกระทำที่เป็นธรรม
ธรรม หมายถึง ความยุติธรรม เช่น ถ้าผู้ปกครองประเทศปกครองด้วยความเป็นธรรม ประชาชนก็เป็นสุข
เมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการแล้ว ก็ทรงมีพระมหากรุณาปรารถนาจะให้สัตว์โลกพ้นทุกข์ จึงทรงสั่งสอนเหล่าสาวกและคนทั่วไปด้วยคำสอนต่าง ๆ คำสอนของพระพุทธเจ้านี้เรียกว่า พระธรรม
พระธรรม คัมภีร์ ของพระพุทธศาสนา เรียกว่า พระไตรปิฎก ประกอบด้วย พระอภิธรรมปิฎก พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก
อภิธรรมปิฎก หรือพระอภิธรรม หมายถึง ประมวลพระพุทธพจน์หมวดพระอภิธรรม หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นภาคทฤษฎีบท หลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักคำสอนล้วน ๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ เปรียบเสมือนวิชาวิทยาศาสตร์
พระวินัยปิฎก หรือ พระวินัย หมายถึง ประมวลพุทธพจน์หมวดพระวินัย คือพุทธบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมและการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ เปรียบเสมือนวิชากฎหมาย
พระสุตตันตปิฎก หรือ พระสูตร หมายถึง ประมวลพุทธพจน์หมวดพระสูตร คือ พระธรรมเทศนาคำบรรยายธรรมต่างๆ ที่ตรัสยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคลและโอกาสตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่า และเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้า สอนใคร สอนเรื่องอะไร สอนที่ไหนเปรียบเสมือนวิชาประวัติศาสตร์
คำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงเทศนานั้นมีสาระสำคัญ 3 ประการ หรือ โอวาท 3
คือ ให้ประพฤติดี ให้ละความชั่ว และทำจิตใจให้ผ่องใส
นอกจากสาระสำคัญทั้ง 3 ประการนี้ พระพุทธเจ้า ได้ทรงชี้ให้เห็นถึงสาเหตุแห่งการเกิดทุกข์ การดับทุกข์ และวิธีปฏิบัติตนของพุทธบริษัท 4 เพื่อให้หลุดพ้นจากวัฏสังสาร วงจรของการเกิดดับ หลุดพ้นจากความทุกข์ต่าง ๆ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป
พระสงฆ์
เรามักเรียกสมณเพศในพระพุทธศาสนาว่า “พระสงฆ์” แต่คำว่า “สงฆ์” นั้นหมายถึงองค์คณะของผู้เป็นสมณะมากกว่า แต่สมณะในพระพุทธศาสนาแต่ละรูปนั้นเรียกว่า “ภิกษุ” ซึ่งแปลตามรูปศัพท์ หมายถึง “ผู้ขอ” มีรากศัพท์เดียวกันกับคำว่า ภิกษาจาร พระสงฆ์ หมายถึง สาวกหรือนักบวชที่เป็นผู้ชายในพระพุทธศาสนา เป็น 1 ใน 4 ของพุทธบริษัท ซึ่งเดิมเรียกนักบวชผู้ชายในศาสนาพุทธว่า “ภิกขุ” ในภาษาบาลี “ภิกษุ” ในภาษสันสกฤต พระสงฆ์จัดว่าเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสืบทอดพระศาสนาเพราะเป็นศาสนทายาทผู้สั่งสอนพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไป พระสงฆ์จึงต้องประพฤติปฏิบัติตนให้ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติของพระสงฆ์ที่ดี ตามพุทธบัญญัติ
พระสงฆ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. พระอริยสงฆ์
2. พระสมมุติสงฆ์
พระอริยสงฆ์ พระสงฆ์ผู้บรรลุธรรมวิเศษ 4 ชั้นคือ
1. พระโสดาบัน
2. พระสกทาคามี
3. พระอนาคามี
4. พระอรหันต์
พระอริยสงฆ์ 3 ชั้นแรกจัดเป็นเสขบุคคล ส่วนพระอรหันต์จัดเป็นอเสขบุคคล
เสขบุคคลมี 3 ขั้น ได้แก่
1.โสดาบัน 2. สกทาคามี หรือสกิทาคามี 3. อนาคามี ที่นับว่าเป็น “เสขบุคคล” เพราะผู้นั้น ยังต้องศึกษาต่อไปอยู่ ( เสข=ผู้ยังต้องศึกษา ) เนื่องจากยังไม่จบ “การศึกษา 3” (อธิศีลสิกขา-อธิจิตสิกขา-อธิปัญญาสิกขา) ผู้พัฒนาตนผ่าน “การศึกษา 3” บรรลุธรรมเป็น “อาริยชน” จึงนับเป็นผู้เข้าสู่ “เสขภูมิ” พื้นเพของพระเสขะ คือ เข้าสู่ชั้นอาริยชนแล้ว จะเป็นชั้นหนึ่งชั้นใดใน 3 ก็ตาม แต่ยังต้องศึกษาอยู่ ยังไม่จบถึง “อรหันต์” อันเป็นภูมิสุดท้าย ผู้ยังไม่บรรลุธรรมเข้าขั้น “อาริยะ” ยังไม่ได้ชื่อว่า “เสขบุคคล”
พระอรหันต์ แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่
1. พระสุกขวิปัสสก (ไม่มีญาณวิเศษใด ๆ นอกจากรู้การทำอาสวะให้สิ้นไป (อาสวักขยญาณ) อย่างเดียว)
2. พระเตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา 3 คือ รู้ระลึกชาติได้(บุพเพนิวาสานุสสติญาณ) รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย(จุตูปปาตญาณ) รู้ทำอาสวะให้สิ้น(อาสวักขยญาณ)
3. พระฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา 6 คือ แสดงฤทธิ์ได้(อิทธิฤทธิ์) หูทิพย์(ทิพยโสต) รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย(จุตูปปาตญาณ) ทายใจผู้อื่นได้(เจโตปริยญาณ) ระลึกชาติได้(บุพเพนิวาสานุสสติญาณ) และญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป(อาสวักขยะญาณ)
4. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา 4)
ปฏิสัมภิทา ความแตกฉาน ความรู้แตกฉาน ปัญญาแตกฉาน มี 4 ขั้นได้แก่
4.1 อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ ความแตกฉานสามารถอธิบายเนื้อความย่อของภาษิตโดยพิสดารและความเข้าใจ ที่สามารถคาดหมายผลข้างหน้าอันจะเกิดสืบเนื่องไปจากเหตุ
4.2 ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม เห็นคำอธิบายพิสดาร ก็สามารถจับใจความมาตั้งเป็นหัวข้อได้เห็นผลก็สืบสาวไปหาเหตุได้
4.3 นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในภาษา คือเข้าใจภาษา รู้จักใช้ถ้อยคำให้คนเข้าใจ ตลอดทั้งรู้ภาษาต่างประเทศ
4.4 ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ความแตกฉานในปฏิภาณได้แก่ไหวพริบคือ โต้ตอบปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันท่วงที หรือแก้ไขเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ฉับพลันทันการ
พระสมมุติสงฆ์
หมายถึงพระสงฆ์ที่กำลังศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย บ้างครั้ง เรียกว่า พระ, พระสงฆ์,ภิกษุ, พระภิกษุ, พระภิกษุสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ก็จะเป็นเหตุจูงใจประชาชนให้เกิดความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา คำว่า พระสงฆ์ โดยทั่วไปจึงมุ่งถึงชายที่บวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ได้ปฏิบัติตามกฎหมายของสงฆ์ ที่เรียกว่า วินัยสงฆ์ ได้ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วนำคำสอนนั้นไปถ่ายทอดแก่ประชาชนทั่วไป ไม่คำนึงว่าจะเป็นภิกษุรูปเดียว หรือเป็นคณะที่รวมตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป

สงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าต้องเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติถูก สมควรที่เราจะเคารพบูชา อย่างนี้ คือ พระสงฆ์ แต่ถ้าไม่ปฏิบัติตามคำสั่งสอนหรือไม่ประพฤติปฏิบัติตามธรรมวินัยของพระพุทธองค์ก็ไม่ชื่อว่า ภิกษุสงฆ์

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

อริยสัจ4

 

อริยสัจ 4

  มีความจริงอยู่ 4 ประการคือ การมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และ หนทางไปสู่ความดับทุกข์ ความจริงเหล่านี้เรียกว่า อริยสัจ 4

1. ทุกข์
คือ การมีอยู่ของทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ และตายล้วนเป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความวิตกกังวล ความกลัวและความผิดหวังล้วนเป็น ทุกข์ การพลัดพรากจากของที่รักก็เป็นทุกข์ ความเกลียดก็เป็นทุกข์ ความอยาก ความยึดมั่นถือมั่น ความยึดติดในขันธ์ทั้ง 5 ล้วนเป็นทุกข์

2. สมุทัย
คือ เหตุแห่งทุกข์ เพราะอวิชา ผู้คนจึงไม่สามารถเห็นความจริงของชีวิต พวกเขาตกอยู่ในเปลวเพลิงแห่งตัณหา ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความเศร้าโศก ความวิตกกังวล ความกลัว และความผิดหวัง

3. นิโรธ
คือ ความดับทุกข์ การเข้าใจความจริงของชีวิตนำไปสู่การดับความเศร้า โศกทั้งมวล อันยังให้เกิดความสงบและความเบิกบาน

4. มรรค
คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ อันได้แก่ อริยมรรค 8 ซึ่งได้รับการหล่อ เลี้ยงด้วยการดำรงชีวิตอย่างมีสติความมีสตินำไปสู่สมาธิและปัญญาซึ่งจะปลดปล่อย ให้พ้นจากความทุกข์และความโศกเศร้าทั้งมวลอันจะนำไปสู่ความศานติและ ความเบิกบาน พระพุทธองค์ได้ทรงเมตตานำทางพวกเราไปตามหนทางแห่งความรู้แจ้งนี้

   
โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

Hello world!

Welcome to WordPress.com! This is your very first post. Click the Edit link to modify or delete it, or start a new post. If you like, use this post to tell readers why you started this blog and what you plan to do with it.

Happy blogging!

โพสท์ใน Uncategorized | 1 ความเห็น